งานแข่งเรือประเพณีฉลองงาช้างดำจังหวัดน่าน
แหล่งที่มาภาพ : https://goo.gl/psv4X0
แหล่งที่มาภาพ : https://goo.gl/nWbpSU
เรือที่เข้าแข่งแต่ละลำใช้ไม้ซุงใหญ่ ๆ เอามาขุดเป็นเรือ เอกลักษณ์โดดเด่นของเรือแข่งเมืองน่าน คือ ที่หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาคชูคอสง่างามหางเรือเป็นหางพญานาคงอนสูง ด้วยคนเมืองน่านเชื่อว่าบรรพบุรุษของตน คือ เจ้าขุนนุ่น ขุนฟอง เกิดจากไข่พญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ การต่อเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงถือเป็นการบูชาบุญคุณพญานาคผู้เป็นเจ้าแห่งน้ำและบรรพบุรุษของชาวเมืองน่าน
ประเภทการแข่งขัน มีทั้งเรือใหญ่ เรือกลาง และเรือเล็ก รวมทั้งประเภทสวยงาม นอกจากนี้ยังมีการประกวดกองเชียร์อีกด้วย และหากมาช่วงซ้อมก่อนการแข่งขัน ตอนเย็น ๆ จะเห็นชาวบ้าน นักเรียนจับกลุ่มอยู่ริมน้ำเพื่อมาดูการซ้อมเรือ เชียร์ทีมเรือและฝีพายที่เป็นคนท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิตที่มีสีสัน และ เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ นับเป็นประเพณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
งานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน
แหล่งที่มาภาพ : https://goo.gl/Sqoa7o
จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีจัดร่วมกับของดีเทศกาลเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน แต่ส้มสีทองจะมีเปลืองสีเหลืองทองสวยงาม และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศ คือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคือต่างกัน 8 องศา เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลืองส้มเปลี่ยนจากสีทองดังกล่าว
กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง ได้แก่ การประกวดขบวนรสส้มสีทอง การออกร้านนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอ ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมามาย
งานตานก๋วยสลาก งานแห่คัวตาน หรือครัวทาน
แหล่งที่มาภาพ : https://goo.gl/RYlpgQ
แหล่งที่มาภาพ : https://goo.gl/vXGbpi
ทานสลาก หรือก๋วยสลากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับชาวเหนือถือว่าเป็นประเพณีทำบุญกลางบ้านที่ยิ่งใหญ่และสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น พระภิกษุรับนิมนต์เพื่อมารับการถวายทานโดยการจับสลาก
พิธีสืบชะตา
เป็นประเพณีโบราณ มักทำในโอกาสต่าง ๆ เช่นวันเกิดอายุครบรอบฟื้นจาการเจ็บป่วย การสืบชะตาถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและเป็นสิริมงคล ขับไล่สิ่งเลวร้ายให้ผ่านพ้นไป ต่อมามีการประยุกต์ พิธีสืบชะตากับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ดนตรีพื้นบ้าน
ปิน สะล้อ ซอน่าน พ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) คือผู้เชี่ยวชาญปิน (ซึง) และสะล้อและยังสามารถประดิษฐ์เครื่องดนตรี คำร้อง คำนอง เพลงซอปั่นฝ้าย ศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่งคือ พ่อครูคำผายนุปิ ผู้ขับ “ซอล่องน่าน” ที่เล่าถึงตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองน่าน ตามเรื่องเล่าขานกันมาช้านานกว่า ครั้งเมื่อพระยาการเมืองอพยพย้ายเมืองจากวรนครอำเภอปัว มาสร้างเมืองใหม่ที่ภูเพียงแช่แห้งนั้น ขบวนเสด็จแห่แหนใหญ่โตมาตามลำน้ำน่าน ผู้ติดตาม คือ ปู่คำมาและย่าคำปี้ ขับร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี คลอปินและสะล้อเพื่อไม่ให้การเดินทางน่าเบื่อ
งานประเพณีไหว้พระธาตุ
งานนมัสการพระพุทธเบ็งสกัด ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม)
งานประเพณี “หกเป็งไหว้สามหาธาตุแช่แห้ง” ในวันเดือนเพ็ญเดือน 6 เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 5 ภาคกลาง (ประมาณเดือนกุมพาพันธ์-มีนาคม) มีการจุดบ้องไฟถวายพุทธบูชา
งานประเพณีนมัสการพระธาตุเขาน้อย ในวันเพ็ญเดือน 8 เหนือ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ภาคกลาง (ประมาณเดือนพฤษภาคม) มีงานนมัสการพระธาตุเขาน้อย และมีการจุดบ้องไฟถวายพุทธบูชา
งานประเพณีนมัสการสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาลช่วงเทศกาลสงกรานต์ 12-15 เมษายน
แหล่งที่มาข้อมูล : http://goo.gl/h2WKFe
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น